จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การเลือกตั้ง 2554

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554
เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อันกำหนดให้มีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ตามความใน พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 ที่ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเสีย ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2554 

เบื้องหลัง

จากเหตุการณ์การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 นำมาสู่การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายซึ่งมีขึ้น ในวันที่ 28-29 มีนาคม 2553 ระหว่างตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล อันประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ และชำนิ ศักดิเศรษฐ์กับตัวแทนจากทางฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์วีระ มุสิกพงศ์ และ เหวง โตจิราการ ที่สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งทางฝ่ายแกนนำผู้ชุมนุม เสนอให้มีการยุบสภาภายใน 15 วัน และมีการเลือกตั้ง แต่ทางรัฐบาลไม่ยอมรับข้อเสนอ เนื่องจากไม่เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะยุติลงได้หลังเลือกตั้งเสร็จแล้ว โดยรัฐบาลยินดีที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งโดยกำหนดระยะเวลาการยุบสภาภายในเวลา 9 เดือน
จากนั้นได้มีข้อเสนอจัดการเลือกตั้งนั้นซึ่งกำหนดไว้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ระบุในข้อเสนอปรองดองว่าเขาจะดำเนินการตามแผนการเลือกตั้งต่อไป แม้ว่ากลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวก็ตาม หากมิได้กำหนดวันเลือกตั้งแน่ชัด[ซึ่งแม้ว่าแกนนำ นปช. จะตอบรับข้อเสนอดังกล่าว แต่ยังคงทำการชุมนุมต่อไป โดยอ้างว่ามีเพียงคณะกรรมการการเลือกตั้งเท่านั้นที่มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งได้ นายกรัฐมนตรีจึงถอนข้อเสนอเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 จากนั้นก็ได้เกิดการสลายการชุมนุมตามมา
การแปรบัญญัติกฎหมายเลือกตั้งซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นนั้นผ่านสภาเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554โดยในอีกหนึ่งเดือนต่อมา ได้มีการประกาศว่าจะมีการยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ซึ่งหลังจากมีการประกาศถึงเจตนารมย์ในการยุบสภาของนายกรัฐมนตรี ทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนมากขาดประชุมสภา โดยเฉพาะในช่วงระหว่าง วันที่ 29- 31 มีนาคม 2554 นั้นสภาล่มถึง 3 วันติดต่อกัน เพราะมีผู้เข้าประชุมไม่ครบกึ่งหนึ่งของสภา โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่เป็นฝ่ายค้าน ซึ่งมี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขาดประชุมทั้งหมด 175 คน จากจำนวนทั้งหมด 188 คน เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน  จนท้ายที่สุดมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภา ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 พฤษภาคม
โดยก่อนหน้าที่จะมีการประกาศยุบสภานั้น เริ่มตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา พบว่าคะแนนนิยมของรัฐบาลลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการบริหารงานที่ขาดประสิทธิภาพจนทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ ตลอดจนนโยบายต่างประเทศหากพรรคประชาธิปัตย์ปล่อยให้เวลาล่าช้าออกไป จะยิ่งทำให้คะแนนนิยมของพรรคตกต่ำลง

พรรคการเมืองที่ลงสมัคร

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2551 มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะเป็นหัวหน้าพรรค โดยดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ต่อจากบัญญัติ บรรทัดฐาน ส่วนพรรคเพื่อไทยยังไม่เปิดเผยผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีชัดเจน จนกระทั่งวันที่ 16 พฤษภาคม เมื่อยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมกรรมการบริหารพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 นอกจากนี้ยังมีการจัดผู้สมัครบัญชีรายชื่อ 2 ชุด คือบัญชีผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อเพื่อทำงานในสภา กับบัญชีผู้บริหารเพื่อทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ
ด้านพรรคชาติไทยพัฒนา ส่งชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ที่เกิดจากการรวมพรรครวมชาติพัฒนาและพรรคเพื่อแผ่นดินนั้น ส่งชาญชัย ชัยรุ่งเรือง เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ทางพรรครักประเทศไทย ได้ส่งชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์เป็นผู้สมัครระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 โดยประกาศจะขอทำหน้าที่ฝ่ายค้าน ส่วนพรรคการเมืองใหม่ โฆษกพรรค สุริยะใส กตะศิลา ยืนยันว่าพรรคจะไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส่วนที่สมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรค ออกมาประกาศว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งนั้น ไม่ใช่มติพรรค

รูปแบบการเลือกตั้ง

โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2554 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 500 คน โดยเป็นสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 375 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 125 คน


ในระบบบัญชีรายชื่อ จะมีการคัดเลือกด้วยขั้นตอนดังนี้
  1. ให้แต่ละพรรค ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครจำนวนไม่เกิน 125 คน
    1. บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องประกอบด้วยรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งจากภูมิภาคต่าง ๆ อย่างเป็นธรรม และต้องคำนึงถึงโอกาส สัดส่วนที่เหมาะสมและความเท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย
    2. รายชื่อในบัญชีต้องไม่ซ้ำกับบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองอื่นจัดทำขึ้น และไม่ซ้ำกับรายชื่อของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
    3. จัดทำรายชื่อเรียงตามลำดับหมายเลข (จาก 1 ลงไป)
  2. หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง ให้นับคะแนนในระบบบัญชีรายชื่อของทุกพรรคการเมืองรวมกันทั้งประเทศ แล้วหารด้วย 125 จะได้คะแนนเฉลี่ยต่อผู้แทน 1 คน
  3. นำคะแนนของแต่ละพรรคการเมือง หารด้วยคะแนนเฉลี่ยที่คำนวณไว้ จะได้จำนวนผู้แทนระบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น
  4. เศษทศนิยม ให้ปัดทิ้งทั้งหมด แต่ให้เก็บข้อมูลเศษทศนิยมของแต่ละพรรคไว้ (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ปัดทิ้งเหลือ 52)
    1. รวมจำนวนผู้แทนของทุกพรรค หากยังได้ไม่ครบ 125 ให้กลับไปดูที่เศษทศนิยมของแต่ละพรรค พรรคใดที่มีเศษเหลือมากที่สุด ให้เพิ่มจำนวนผู้แทนจากพรรคนั้น 1 คน หากยังไม่ครบ ให้เพิ่มผู้แทนจากพรรคที่มีเศษเหลือมากเป็นอันดับสองขึ้นอีก 1 คน ทำเช่นนี้ตามลำดับจนกว่าจะได้ครบ 125 คน (เช่น พรรค ก ได้ 52.7 คน ตอนแรกได้ 52 เศษ 0.7 แต่ถ้าจำนวนผู้แทนยังไม่ครบ และไม่มีพรรคใดมีเศษมากกว่า 0.7 พรรค ก จะได้เพิ่มเป็น 53 คน)
  5. เมื่อได้จำนวนผู้แทนในระบบนี้ที่ลงตัวแล้ว ผู้สมัครของพรรคนั้น จากอันดับหนึ่ง ไปจนถึงอันดับเดียวกับจำนวนผู้แทนของพรรคนั้น จะได้เป็นผู้แทนราษฎร (เช่น พรรค ก ได้ 53 คน ผู้ที่มีรายชื่อตั้งแต่อันดับ 1 ถึง 53 จะได้เป็นผู้แทน)

เหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้ง

ที่รัฐสภา ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสภาพัฒนาการเมือง เชิญพรรคการเมืองเข้าร่วมพิธีให้สัตยาบันและลงนามจรรยาบรรณหาเสียงเลือกตั้ง โดยมีประธานวุฒิสภา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัวแทนจากศาสนาต่าง ๆ เอกอัครราชทูต และผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศมาร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมีตัวแทนจาก 17 พรรคการเมืองเข้าร่วมพิธี ขาดพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคภูมิใจไทย
จากที่คาดกันว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีความดุเดือดรุนแรงเป็นพิเศษ หลังมีการเปลี่ยนรูปแบบการลงคะแนนไปเป็น "เขตเดียวเบอร์เดียว" และเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ได้เกิดเหตุ ประชา ประสพดี อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธปืนขณะเดินทางด้วยรถยนต์กลับบ้าน โดยคาดว่ามือปืนมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักการเมืองในจังหวัดสมุทรปราการ ตำรวจได้มีการเฝ้าระวังติดตามมือปืนที่มีประวัติและคดีอุกฉกรรจ์ ด้านพันเอกธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวว่า ทหารพร้อมเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหน่วยเลือกตั้ง
ด้านกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้มีการรณรงค์ "โหวตโน" หรือกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน พร้อมกับติดป้ายรณรงค์ที่เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ใส่ชุดสูท โดยสื่อถึงนักการเมือง พร้อมข้อความระบุว่า "อย่าปล่อยสัตว์เข้าสภา" ด้านพลตรีจำลอง ศรีเมือง ออกมาระบุว่า กระทำไปด้วยความหวังดีต่อบ้านเมือง และนักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ตลอดจนไม่มีนโยบายที่เกี่ยวกับการเสียดินแดน[58] เกี่ยวกับเรื่องนี้ ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ได้ออกมาตั้งคำถามว่า ผมอยากถามว่า คนเหล่านี้มีสิทธิ์หรือไม่ ในเมื่อเราเป็นพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเชื่อว่าผู้สมัครทั้งหมดของเราขณะนี้ 40 พรรค ไม่ได้แย่ไปหมด ผมยืนยันพี่น้องประชาชน และบ่อยครั้งคนของเราดีกว่ากลุ่มที่รณรงค์โนโหวตด้วยซ้ำไป ฉะนั้นควรปลดป้ายลง เพราะคนเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์ที่จะติดป้าย เพราะเขาไม่ใช่พรรคการเมือง
ในขณะที่พรรคเพื่อไทยได้ออกมาร้องคณะกรรมการการเลือกตั้งให้กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยปลดป้ายโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติ 4 ต่อ 1 ให้ปลดป้ายออก อย่างไรก็ตามทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ยื่นเรื่องฟ้องศาลปครองและไม่มีการปลดป้ายแต่อย่างใ
พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอให้มีการดีเบต หรือโต้วาที ระหว่างอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกับยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงวิสัยทัศน์และนโยบายของพรรคต่อประชาชน โดยอภิสิทธิ์ต้องการพิสูจน์ถึงความพร้อมทำงานสานต่อภารกิจ และเห็นว่าเป็นธรรมเนียมประชาธิปไตยที่ผู้สมัครจะแสดงวิสัยทัศน์แก่ประชาชนแต่ทางพรรคเพื่อไทยปฏิเสธ โดยร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เห็นว่า     การดีเบตเป็นแนวทางของระบบประธานาธิบดี
นอกจากนี้ยังได้เกิดเหตุฆ่าหัวคะแนนของพรรคการเมืองต่าง ๆ เช่น
  • วัชรินทร์ ทางกลาง หัวคะแนน สุชาติ ลายน้ำเงิน พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2554 ที่จังหวัดลพบุรี[64]
  • วิโรจน์ ดำสนิท นายก องค์การบริหารส่วนตำบล โผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนา ถูกคนร้ายเสียชีวิต ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  • นิมิตร แก้วกำพล หัวคะแนนพรรคชาติไทยพัฒนาถูกยิงเสียชีวิต ที่จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ผู้ก่อเหตุคือ ปราโมทย์ คงทอง ซึ่งมีปากเสียงกันก่อนจะบันดาลโทสะใช้ปืนยิงผู้ตายเสียชีวิต
  • มงคล วีระวัฒน์พงษ์ศธร ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้านห้วยส้าน หมู่ 8 ต.แม่สลองใน อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มิลลิเมตร เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ ศ. 2554
  • วุฒิชาติ กันพร้อม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำหรุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทยถูกยิงเสัยชีวิต เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ตำรวจคาดว่าคนร้ายใช้อาวุธปืนกลมือขนาดกระสุน 11 มิลลิเมตร[
  • ดาหารี การี หัวคะแนนพรรคเพื่อไทย ถูกคนร้ายคาดว่าเป็นพรรคการเมืองคู่แข่งใช้มีดแทงเสียชีวิต ที่จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สาเหตุจากการโต้เถียงทางการเมือง
  • สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของพรรคภูมิใจไทย และเป็นพี่ชายของ มะลิวัลย์ จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย ถูกยิงเสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554[อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ภรรยา ได้รับบาดเจ็บสาหัส และชนุตพร โพธิสัมภารวงศ์ เลขานุการของสุบรรณ จิระพันธุ์วาณิชได้รับบาดเจ็บ
  • รังสรรค์ อินทสุทธิ์ หัวคะแนนสุรเชษฐ์ ชัยโกศล พรรคเพื่อไทย ถูกยิงเสียชีวิตที่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554 สนองพจน์ อยู่เล็ก คนร้าย อ้างว่าเป็นการป้องกันตัวและเข้ามอบตัวกับตำรวจ
  • จงกล บุญญา อดีตนายก องค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นหัวคะแนนคนสำคัญของผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 พรรคเพื่อไทยถูกจ่อยิงเสียชีวิต เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  • โสภณ สองแก้ว กำนัน ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา หัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนขนาด 11 มิลลิเมตร ยิงที่ศีรษะ ส่วนภรรยาได้รับบาดเจ็บสาหัส เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  • วิทยา ศรีพุ่ม หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย นายก องค์การบริหารส่วนตำบลดอนใหญ่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี ถูกจ่อยิงเสียชีวิตด้วยอาวุธปืนขนาด .38 สาเหตุเบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องการเมืองท้องถิ่น เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554
  • ซาการียา หะมะ หัวคะแนนพรรคภูมิใจไทย จังหวัดนราธิวาส บาดเจ็บสาหัสจากการถูกลอบสังหารหลังจากเดินทางกลับจากการประชุมร่วมกับผู้สมัครในพื้นที่ ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2554 
ช่วงเดือนมิถุนายน หนังสือพิมพ์ไทยรัฐระบุว่าทูตประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มสหภาพยุโรป ได้แก่ อังกฤษ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ เดินทางเข้าพบหารือสถานการณ์เลือกตั้งและอวยพรในวันคล้ายวันเกิดของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งอาซีฟ อาหมัด เอกอัครราชทูตอังกฤษ กล่าวว่า เป็นเรื่องแปลกเพราะก่อนหน้านี้คณะกรรมการการเลือกตั้งและพรรคประชาธิปัตย์อยากให้มีการสังเกตการณ์เลือกตั้ง แต่ครั้งนี้กลับไม่มี[76] ด้านพรรคเพื่อไทยออกมาชี้ว่ามีความพยายามโกงการเลือกตั้ง
ในวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554 หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้ลงบทความในหน้าหนึ่งเกี่ยวกับการพร้อมให้ตรวจสอบกรณีมีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ลึกลับกล่าวหาว่ามีผู้สื่อข่าวรับสินบนเพื่อให้เสนอข่าวให้พรรคการเมืองใดการเมืองหนึ่งเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากการตรวจสอบเป็นการภายในเครือเนชั่นได้ออกมาปฏิเสธเรื่องการติดสินบนแลกการนำเสนอข่าวดังกล่าว
ทั้งนี้บุรณัชย์ สมุทรักษ์ ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ จากพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย มีการปราศัยในลักษณะโต้วาทีในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ถึงสองครั้งในประเด็นการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมถึ งดนุพร ปุณณกันต์ ที่ได้ออกมาปราศัยถึงเรื่องนี้เช่นกันโดยกล่าวตอนนึงว่า วันนี้คนเสื้อแดงถูกขังลืม แต่ทำไมคนเสื้อเหลืองลืมขัง
ด้านการฟ้องร้องเรื่องการให้ร้ายผู้สมัครปรากฎว่าพรรคภูมิใจไทยได้ฟ้องร้องพรรคเพื่อไทย ในกรณีที่ทักษิณ ชินวัตร ใส่ร้ายผู้สมัครของพรรคคือ เนวิน ชิดชอบ และ ชัย ชิดชอบ ด้าน แทนคุณ จิตต์อิสระได้ฟ้องร้องเรื่องนี้กับ การุณ โหสกุล เป็นการส่วนตัวเช่นตัวกัน
ตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2554 มีเว็บไซด์ที่ทำการปิดชั่วคราวโดยเฉพาะเว็บไซด์ที่มีเนื้อหาด้านการเมืองหรือของพรรคการเมืองเช่นเว็บไซด์ของพรรคประชาธิปัตย์ เว็บไซด์พันทิปห้องราชดำเนิน ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งออกมาเตือนว่าการหาเสียงทางเครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นการผิดกฎหมายหลังเวลา 18.00 ของวันดังกล่าว

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทดสอบการสร้าง blog

14/06/2011 เวลา 10:10
สถานที่ ห้อง IMEC -โรงเรียนภูเขียว
เนื้อหา
วันนี้คุณครู ขจร ให้สร้าง blog เป็นของตัวเองเป็นครั้งแรก ตอนแรกก็ไม่รุ้ว่ามันคืออะไร ทำอย่างไร
เอาไว้ทำอะไร  แต่พอคุณครู บอกและสอนวิธีการสร้าง ก็รู้ว่ามันทำง่ายและสนุก ถึงแม้จะซับซ้อนไปบ้าง
แต่ถ้าทำตามขั้นตอนก็ง่ายมาก
ความรู้สึกในวันนี้
รู้สึกตื่นเต้นดี เพราะ ไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ รู้สึกดีใจที่ทำได้จะได้เอาไปใช้ในอนาคตข้างหน้า  ขอบคุณครูค่ะที่ช่วยสอนหนู รู้สึกสนุกมากมายค่ะ อีกทั้งจะได้สร้าง บล็อคสวยๆด้วย